เชิญสมาชิกฯเข้าร่วมประชุมสามัญฯปี2555 ในวันที่ 18 พ.ย.2555 หอประชุม รร.เทคโนโลยีปทุมธานี... สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก จนท.สหกรณ์ฯในวันและเวลาทำการ โทร.02-979-1163..

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาพกิจกรรมสหกรณ์ ปี 2551


ผู้ตรวจสอบกิจการฯ ผู้สอบบัญชีฯ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขปทุมธานี จำกัด ชุดที่ 20





วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

โปรแกรมคิดคำนวณปันผลและเฉลี่ยคืนปี2551ครับ

ด่วน!หากเพื่อนสมาชิกอยากทราบว่าปีนี้เราจะได้ผลตอบแทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขปทุมธานี จำกัด เป็นเงินเท่าไร(ประมาณว่าอยากรู้ล่วงหน้าก่อนวันประชุมใหญ่)นี่เลยครับโปรแกรมคิดคำนวณปันผลและเฉลี่ยคืน เป็นโปรแกรม Excelคิดง่ายมากๆเลยครับ
ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลย

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

จม.ข่าวสหกรณ์ฯเดือนกันยายน 2551 ครับ

ดาวน์โหลด จม.ข่าวสหกรณ์เดือนกันยายน2551ได้ที่นี่ครับ...คลิกลิงก์ตรงนี้ครับ

แจ้งข่าวสหกรณ์ฯครับ

สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขปทุมธานี จำกัด จะจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2551 และเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ เลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการในวันที่29 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 9.00 น ห้องประชุมโรงเรียนเทคโนโลยีปทุมธานี... ดาวน์โหลดประกาศสหกรณ์

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เรื่อง การขอรับทุนส่งเสริมการศึกษาแก่บุตรสมาชิกสหกรณ์ฯ

ขอแจ้งให้สมาชิกทุกท่านทราบถึงประกาศสหกรณ์เกี่ยวกับการขอรับทุนส่งเสริมการศึกษาแก่บุตรสมาชิก
ทั้งนี้ท่านสมาชิกที่มีบุตรกำลังศึกษาอยู่ตามหลักเกณฑ์ประกาศสหกรณ์และประสงค์จะยื่นขอรับทุนการศึกษาโปรดยื่นใบสมัครขอรับทุนการศึกษาได้ตั้งแต่วันนี้ถึง30 กันยายน 2551 หากมีข้อสังสัยโปรดติดต่อสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขปทุมธานี จำกัด ได้ทุกวันในเวลาราชการ ดาวน์โหลดประกาศและแบบฟอร์มใบสมัครได้ที่นี่

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

หลักการสหกรณ์

คือ "แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าทางสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม" ซึ่งประกอบด้วยการที่สำคัญรวม 7 ประการ กล่าวคือ
หลักการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง(1) พึงตระหนักว่าการเข้าและออกจากการเป็นสมาชิก จะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจของบุคคล (คำว่า "บุคคล" หมายถึง ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ไม่ใช้ถูกชักจูง โน้มน้าว ล่อลวง บังคับ ข่มขู่จากผู้อื่น(2) อย่างไรก็ดี การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกของสหกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ได้บุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกแล้วสามารถร่วมกันดำเนินกิจกรรมในสหกรณ์ได้ และไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนสมาชิกและสหกรณ์ ไม่ถือว่าขัดกับหลักการสหกรณ์ข้อนี้(3) สมาชิกสมทบนั้น ควรมีแต่เฉพาะกรณีของสหกรณ์บางประเภทที่มีลักษณะพิเศษและจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรให้มีในสหกรณ์ทั่วไปหรือทุกประเภท เพราะตามปกติสมาชิกสมทบมาจากบุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกธรรมดา หากสหกรณ์ใดรับสมาชิกสมทบจำนวนมาก ก็อาจกระทบต่อการส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชิกธรรมดาได้แม้ว่ากฎหมายจะได้ห้ามมิให้สมาชิกสมทบมีสิทธิบางประการก็ตาม

หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย พึงตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่จะต้องร่วมแรงกายใจ และสติปัญญาในการดำเนินการและควบคุมดูแลการดำเนินงานของสหกรณ์ของสหกรณ์ตามวิถีทางประชาธิปไตย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผ่านช่องทางหรือองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการและที่ประชุมใหญ่

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก(1) หลักการสหกรณ์ข้อนี้ มุ่งเน้นให้สมาชิกทุกคนพึงตระหนักว่าบทบาทที่สำคัญของตนคือ การที่ต้องเป็นทั้งเจ้าของและลูกค้าในคนเดียวกัน (Co-owners and Customers) จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้สมทบทุน ผู้ควบคุม และผู้อุดหนุน หรือผู้ใช้บริการของสหกรณ์ มิใช่มาเป็นสมาชิกเพียงเพื่อมุ่งหวังได้รับประโยชน์จากสหกรณ์เท่านั้น(2) ในการจัดสรรกำไรสุทธิเพื่อความเป็นธรรมแก่สมาชิก ส่วนหนึ่งต้องกันไว้เป็นทุนสำรอง ซึ่งจะนำไปแบ่งกันมิได้ แต่เป็นทุนเพื่อพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขาเอง ถือว่าเป็นทุนทางสังคม นอกนั้นอาจแบ่งเป็นเงินปันผลในอัตราจำกัด และเป็นเงินเฉลี่ยคืน ตามส่วนแห่งธุรกิจ

หลักการที่ 4 การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ(1) สมาชิก กรรมการและพนักงานสหกรณ์รวมทั้งหน่วยงานส่งเสริมสหกรณ์ต้องสำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่าสหกรณ์เป็นองค์การช่วยตนเอง และปกครองตนเอง เพราะฉะนั้นสหกรณ์ต้องเป็นอิสระในการตัดสินใจ หรือทำสัญญาใด๐ ตามเงื่อนไขที่สหกรณ์ยอมรับได้กับบุคคลภายนอกหรือรัฐบาล(2) การรับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากรัฐ หรือบุคคลภายนอกไม่ขัดกับหลักความเป็นอิสระของสหกรณ์ หากผู้ให้ความช่วยเหลือมุ่งหมายให้สหกรณ์ช่วยเหลือตนเองได้ และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย รวมทั้งธำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเองของสหกรณ์

หลักการที่ 5 การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ(1) หลักการข้อนี้เป็นจุดอ่อนของสหกรณ์ในประเทศไทยทุกระดับ ทั้งสหกรณ์ขั้นปฐมและสหกรณ์ขั้นสูง เพราะขาดแผนแม่บทในการพัฒนาการศึกษาทางสหกรณ์ให้เป็นบทบาท และความรับผิดชอบของขบวนการสหกรณ์อย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่ได้รับเริ่มให้จัดตั้งกองทุนสะสมจัดสหภาพสหกรณ์จากกำไรของสหกรณ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 และแม้จะมีการจัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและมีชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติบ้างแล้วส่วนราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ก็ยังคงดำเนินการให้การศึกษาและฝึกอบรมทางสหกรณ์แทบจะเรียกได้ว่าซ้ำซ้อนกับขบวนการสหกรณ์โดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนให้ขบวนการสหกรณ์สามารถรับผิดชอบการให้การศึกษาและฝึกอบรมทางสหกรณ์ได้ด้วยตนเองในที่สุดโดยมีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่ให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอตามความจำเป็นและเน้นการฝึกอบรมข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล(2) การศึกษาฝึกอบรมและสารสนเทศมีความมุ่งหมายและเน้นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้- การศึกษามุ่งให้สมาชิกและบุคคลทั่งไปซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่จะเป็นสมาชิกในอนาคต มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสหกรณ์ รวมทั้งมีความสำนึก และตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หรือให้เป็นผู้มีจิตวิญญาณสหกรณ์- การฝึกอบรมมุ่งให้กรรมการ ผู้จัดการและพนักงานสหกรณ์ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ รวมทั้งความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตน- ส่วนสารสนเทศนั้นมุ่งให้บุคคลทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับเยาวชนปละผู้นำด้านความคิดเป็น เช่น ผู้นำชุมนุม นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้นำองค์กร พัฒนาชุมชน ฯลฯ โดยเน้นการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง(3) หลักสูตรและเนื้อหาของการศึกษาอบรม ควรครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม

หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์(1) แท้จริงการร่วมมือระหว่างสหกรณ์เป็นหลักการเดียวกันกับการร่วมมือระหว่างบุคคลธรรมดาในการจัดตั้งสหกรณ์นั่นเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดด้วยขนาด มีอำนาจการต่อรองสูงขึ้น และนำไปสู่การรับใช้สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น(2) การร่วมมือระหว่างสหกรณ์อาจทำได้ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ในแนวนอนสหกรณ์ทุกสหกรณ์ไม่ว่าประเภทเดียวกันหรือไม่ สามารถร่วมมือกันได้ในทุกระดับเพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิกและขบวนการสหกรณ์ในแนวตั้งสหกรณ์ท้องถิ่นประเภทเดียวกันควรรวมตัวกันทางธุรกิจเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ และสหกรณ์ทุกประเภท ทุกระดับ ทุกสหกรณ์ควรรวมตัวกันเป็นองค์การสหกรณ์สูงสุด (Apex Organization) เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมด้านอุดมการณ์ การศึกษา การฝึกอบรม การส่งเสริมแนะนำ การกำกับดูแล การตรวจสอบ การวิจัย และการพัฒนา ฯลฯ(3) วัตถุประสงค์สำคัญของการร่วมมือระหว่างสหกรณ์ คือ เพื่อให้สหกรณ์สามารถอำนาจผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นสหกรณ์ท้องถิ่นแต่ละสหกรณ์ และสหกรณ์ขั้นสูงต้องเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน มีชีวิตชีวา (Viable & Sustainable) และร่วมมือกันในลักษณะของ "ระบบรวม" หรือเป็นเอกภาพ

หลักการที่ 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน(1) สหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนนั้นๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นการพัฒนา ที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ หรือเป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคตของคนรุ่นหลัง(2) เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์ก็เป็นสมาชิกของชุมชนนั้นเอง สหกรณ์จึงควรมีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนนั้นแบบยั่งยืน

ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย (3)

ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480 ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัว การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย (2)

การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย" จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนจำนวน 3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่งดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก

ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์

แจ้งข่าวสหกรณ์ฯครับ

ขณะนี้สหกรณ์ให้บริการดาวน์โหลด จม.ข่าวสหกรณ์ให้เพื่อนสมาชิกไปอ่านกันได้แล้วครับ แล้วจะพยายามอัพโหลด จม.ข่าวให้ทันทีที่บรรณาธิการ จม.ข่าวสหกรณ์ ส่งต้นฉบับมาให้นะครับ และอีกไม่นานเกินรอ เราจะพยายามเปิดบริการให้เพื่อนสมาชิกสหกรณ์ฯดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารสำหรับยื่นทำธุรกรรมกับสหกรณ์ครับ....

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

คุณสมบัติของสมาชิกผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอกู้เงินประเภทสามัญ

1เป็นสมาชิกของสหกรณ์มาครบ 6 เดือน
2.การยื่นขอกู้ต้องมีผู้ค้ำประกัน 2 ครบ ถ้าใช้ทุนเรือนต้นค้ำประกันจะมีสิทธิ์ยื่นกู้ได้ไม่เกินร้อยละ90ของทุนเรือนหุ้น
3.สิทธิสามารถกู้ได้สูงสุด 40 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่วงเงินสูงสุดไม่เกิน 700,000 บาท
4.ผู้กู้ต้องชำระเงินกู้จากสัญญาเดิมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 งวด โดยวิธีเรียกเก็บเงินจากเงินเดือนจึงมีสิทธิ์ยื่นได้
5.กำหนดชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 100 งวด สำหรับสมาชิกสหกรณ์ทั่วไป ส่วนสมาชิกข้าราชการบำนาญ งวดชำระคืนได้ไม่เกิน 60 งวด
6.สมาชิกที่ยื่ขอกู้เงินสามัญ จะต้องมีเงินทุนเรือนต้นตามวงเงินกู้ดังนี้
-วงเงินกู้ 60,000 - 80,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 6,000 บาท
-วงเงินกู้ 80,001 - 100,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 10,000 บาท
-วงเงินกู้ 10,001 - 200,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 30,000 บาท
-วงเงินกู้ 200,001-30,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 50,000 บาท
-วงเงินกู้ 300,001-40,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 80,000 บาท
-วงเงินกู้ 400,001-500,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 100,000บาท
-วงเงินกู้ 500,001-600,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 120,000 บาท
-วงเงินกู้ 600,001-700,000 บาท ต้องมีทุนเรือนต้น 140,000 บาท

ลำดับขั้นตอนในการเขียนคำขอกู้เงิน

1.เตรียมเอกสารตามหัวข้อเอกสารที่สหกรณ์ระบุ ตรวจสอบเอกสารให้สมบูรณ์ครบถ้วน
2.ผู้ขอกู้กรอกยอดกู้และรายละเอียดในใบคำขอกู้ใบแรก และลายเซ็นผู้บังคับบัญชาด้านหลัง
3.ผู้ขอกู้กรอกหนังสือยินยอมให้หักเงินที่ต้องชำระแก่สหกรณ์พร้อมหาพยานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ทั้ง 2 คน
4.กรณีผู้ค้ำประกันมีคู่สมรสให้นำหนังสือยินยอมของคู่สมรสผู้ค้ำเซ็นพร้อมพยานที่เป็นสมาชิกทั้ง 2 คน
5.การกรอกข้อมูลในชุดคำขอกู้สามัญและใบหนังสือยินยอมอื่น ๆ ห้ามใช้นำยาลบคำผิด กรณี เขียนผิดให้ขีดคำผิดออกและเขียนใหม่ โดยเซ็นชื่อกำกับข้อความที่เขียนผิดด้วย

เอกสารและเงื่อนไขประกอบการกู้เงินประเภทสามัญ

เอกสารประกอบการยื่นขอกู้
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาทะเบียนสมรส/สำเนาใบสำคัญการหย่า/สำเนาใบมรณะบัตร
4.หนังสือเปลี่ยนชื่อตัว/หรือชื่อสกุล
5.สลิปเงินเดือน เดือนสุดท้ายก่อนที่จะยื่นเรื่องขอกู้เงิน
6.สำเนาหน้าสมุดเลขบัญชีธนาคารกรุงไทย

อัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยประเภทต่าง ๆ ของสหกรณ์
1.เงินกู้ประเภทสามัญ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.75
2.เงินกู้ประเภทสวัสดิการฯ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.75
3.เงินกู้ประเภทฉุกเฉิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.75

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551

เพลงประจำจังหวัดปทุมธานี

เนื้อร้อง นายสุรพล ไชยเสนา นายคำภีร์ เกาะทอง
นายทองคำ พันนัทธี นายบำรุง สมจิตต์
ทำนอง นายวิรัตน์ ครองแถว

ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
ชาวปทุมล้วนตระหนักในศักดิ์ศรี มุ่งทำดีด้วยหัวใจมิใฝ่ชั่ว
ชาวปทุมแช่มชื่นพร้อมตื่นตัว พัฒนาครอบครัวทั่วทุกคน
ชาวปทุมมั่นใจในชาติศาสน์กษัริตย์ ยอดสมบัติวัฒนาสถาผล
ชาวปทุมรู้จักรักเตือนตน สมค่าคนที่เกิดมาทุกนาที
ชาวปทุมรักปทุมชุ่มชีวิต ใครมาคิดทำลายเราไม่หนี
มีหลักเมืองเป็นร่มเงาเนาฤดี ชาวปทุมธานีมีสุขเอย

คำขวัญประจำจังหวัดปทุมธานี

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี


รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทอง
อยู่2ข้าง ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร
จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"

วิสัยทัศน์สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขปทุมธานี จำกัด

"เป็นองค์กรที่ให้บริการทางการเงินอันดับหนึ่ง
ของสมาชิก ที่มีความมั่นคง บริการประทับใจ
บริหารงานโปร่งใส นำสมัยเทคโนโลยี
"

Sample Text

สรุปผลแข่งขันฟุตซอลลีกชาย กีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์

ปี 2552














1


ทีม

แข่ง
ชนะ
เสมอ
แพ้
คะแนน
ลำดับ

สรุป

2

Manchester United

คปสอ.ลำลูกกา

8
6
1
1
19
1

แชมป์

3

Arsenal

ศูนย์มะเร็ง

8
6
-
2
18
2

รองแชมป์

4

Manchester City

รพ.ปทุมธานี

8
5
2
1
17
3

ที่ 3

5

Tottenham

คปสอ.หนองเสือ

8
5
-
3
15
4

ที่ 4

6

Chelsea

คปสอ.ธัญบุรี

8
4
2
2
14
5


7

Liverpool

คปสอ.ลาดหลุมแก้ว

8
2
3
3
9
6


8

Birmingham City

คปสอ.สามโคก

8
2
-
4
6
7


9

Fulham

คปสอ.คลองหลวง

8
-
-
8
0
8

























หมายเหตุ รพ.ประชาธิปัตย์แข่งไม่ครบจึงไม่ได้รับการจัดลำดับ